โทรเลข (Telegraphy)
![]() |
โทรเลข (Telegraphy) |
⇛โทรเลข คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อกัน เเละอาศัยอำนาจเเม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ เเต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (redio telegraph , wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)
![]() |
เเซมมวล มอร์ส |
⇛เเซมมวล มอร์ส ผู้สร้างโทรเลขขึ้นมา
⇛เเซมมวล มอร์ส ได้กำหนดรหัสในการสื่อสารเพียง 2 รหัสเท่านั้น คือ สัญญณไฟยาวเเละสัญญาณไฟสั้นซึ่งจะเเทนด้วยจุดกับขีด
⇛รหัสมอร์ส เป็นรหัสที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในระบบโทรเลขสมัยเริ่มเเรกโดยการใช้จุดเเละขีด ในการเข้ารหัสในการสื่อสารโดยจะนำจุดเเละขีด นำมารวมกันเป็นตัวอักษร หรือตัวเลขที่เราเข้าใจได้
![]() |
ตัวอย่างรหัสมอร์ส |
⇛เข้ามาสู่ประเทศไทย โทรเลขได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อพุทธศักราช 2418 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโทรเลขสายเเรกคือ สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ไว้ใช้ในราชการ มีการให้บริการโทรเลขในประเทศไทย 7 ชนิด ภายใต้ข้อบังคับของการสื่อสารเเละให้บริการนานนับร้อยปี ❌ยกเลิกใช้โทรเลข เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยกเลิกใช้โทรเลขอย่างเป็นทางการ
⇛หลักการทำงานของระบบโทรเลข จะใช้วิธีการเเปลตัวอักษรเเละตัวเลขให้เป็นรหัส จากนั้นก็เเปลงเป็นสัญญษณไฟฟ้าผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองเเดง เเละเเมื่อปลายทางได้รับก็จะทำการถอดรหัสเป็นข้อความ อย่างไรก็ตาม การบริหารโทรเลขในประเทสไทยได้มีการประกาศยกเลิกใช้งานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นมา เเละถือเป็นการปิดตำนานการใช้บริการโทรเลขที่เปิดใช้เป็นเวลานานกว่า 100 ปี (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2552 : 18)
โทรพิมพ์ (Telex)

โทรพิมพ์ (Telex)

โทรพิมพ์ (Telex)
⇛ประวัติเเละความเป็นมาของโทรพิมพ์ ก่อนที่จะมีการพัฒนาเครื่องโทรพิมพ์นั้นได้มีการนำเครื่องโทรเลขมาใช้ในการติดต่อสื่อสารกันอย่างเเพร่หลายในสำนักงานทั่วไป เเละต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนาเครื่องโทรพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1901 (พ.ศ. 2444) โดยโดนัลด์ เมอร์เรย์ (Donald Murray) ได้สร้างคีย์บอร์ด ที่มีลักษณะเหมือนเเป้นพิมพ์ดีด เพื่อใช้ในการปรับปรุงเเถบข้อมูลสำหรับการเตรียมข้อมูลไว้ใช้ร่วมกับเครื่องโทรทัศน์ ต่อมาปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ.2449) โฮวาร์ด ครัม (Howard Krum) เเละชาร์ลส์ ครัม (Charles Krum) ร่วมกันพัฒนาเครื่องโทรพิมพ์ โดยการดัดเเปลงเครื่องพิมพ์ดีดสำหรับนำมาใช้งานกับเครื่องโทรพิมพ์ เเละต่อมาจึงได้ดำเนินการทดสอบรูปแบบดังกล่าวบนสายโทรเลข เเละประสบความสำเร็จ ซึ่งเริ่มใช้งานในเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) โดยบริษัทไปรษณีย์โทรเลข ระหว่างนครนิวยอร์ก เเละเมืองบอสตันประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) โฮวาร์ด ครัม เเละชาร์ด ครัม จึงได้ร่วมมือกับจอย มอร์ตัน (Joy Morton) จัดตั้งบริษัทในนาม "มอร์ครัม (Morkr)" เพื่อผลิตเครื่องโทรพิมพ์เเบบ Start - Stop ซึ่งถือเป็นเครื่องโทรพิมพ์เครื่องเเรกสำหรับให้บริการ เกี่ยวกับการเงินของสหราชอาณาจักร โดยเครื่องโทรพิมพ์ดังกล่าวสามารถรับส่งข้อความ หรือตัวอักษรได้ด้วยความเร็ว 40 คำ ต่อนาที โดยใช้วิธีการปรุงเเถบข้อความ ต่อมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศเยอรมันได้เริ่มพัฒนา เเละผลิตเครื่องโทรพิมพ์ ใช้ในระดับประเทศ โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข ของประเทศเยอรมณี ได้ทดลองนำเครื่องโทรพิมพ์ จากบริาัทมอร์ครัม (Morkrum) มาใช้สำหรับรับส่งข้อมูลข่าวสารระดับประเทศ เเละเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2469 เเละจากนั้นจึงได้เริ่มขยายเครือข่ายโทรพิมพ์ พร้อมทำการติดตั้งชุมสายโทรพิมพ์เเบบอัตโนมัติ ในระดับประเทศขึ้นเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2476 ซึ่งเป็นเครื่องโทรพิมพ์ระบบอัตโนมัติเครื่องเเรก ที่ใช้ในกรุงเบอลิน ประเทศเยอรมัน ในระดับประเทศขึ้น เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นเครื่องโทรพิมพ์ระบบอัตโนมัติเคื่องเเรก ที่ใช้ในกรุงเบอลิน ประเทศเยอรมัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2477 จึงนำระบบการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยเครื่องโทรพิมพ์ใช้ในระดับนานาชาติ เป็นครั้งเเรกของโลก ซึ่งให้บริการระหว่างประเทศเยอรมัน ประเทศเนเธอเเลนด์ เเละประเทศสวิตเซอร์เเลนด์
⇛โทรพิมพ์ หมายถึง รูปแบบของการบริการโทรเลขชนิดหนึ่ง เเต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตตอบกันโดยเครื่องพิมพ์จะมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด ที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับเเละส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน สามารถสื่อสารโดยอาศัยตัวนำหรือช่องสัญญาณ เเละชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ผู้ใช้ทั้งสองฝั่งสามารถติดต่อสื่อสารกันไได้ด้วยการพิมพ์ข้อความลงบนกระดาษเพื่อโต้ตอบกัน โดยถึงเเม้ว่าฝั่งรัจะไม่มีพนักงงานคอยรับข้อความ เครื่องก็ยังสามารถพิมพ์เเละหยุดได้เองโดยอัตโนมัติ (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2552 : 18)
⇛ประเภทของโทรพิมพ์
1.โทรพิมพ์เเบบใช้บุคคล คือ การทำงานของโทรพิมพ์ที่ใช้บุคคลในการเชื่อมต่อสัญญาณสำหรับการรับ -ส่งข้อมูล คือเมื่อสำนักงานหนึ่งต้องการติดต่อหรือรับข้อมูลข่าวสารกับอีกสำนักงานหนึ่งต้องเเจ้งให้พนักงานประจำชุมสายโทรพิมพ์ทราบ จากนั้นพนักงานประจำชุมสายโทรพิมพ์ จะดำเนินการเชื่อมสายสัญญาณให้สองสำนักงานสามารถติดต่อกันได้เเละเมื่อเสร็จสิ้นการติดต่อกันเเล้วต้องเเจ้งให้พนักงานประจำประชุมสายโทรพิมพ์ทราบอีกครั้งเพื่อทำการปลดสายสัญญาณเป็นการยกเลิกการติดต่อสื่อสาร
2.โทรพิมพ์เเบบอัตโนมัติ
การทำงานของเครื่องโทรพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้บุคคล ในการเชื่อมต่อสัญญาณในการรับ-ส่งข้อมูลโดยกำหนดให้เครื่องพิมพ์เเต่ละเครื่อง มีหมายเลขประจำเครื่องเช่นเดียวกับหมายเลขโทรศัพท์ คือเมื่อสำนักงานหนึ่งต้องการจะติดต่อหรือส่งข้อมูลข่าวสาร ไปยังอีกสำนักงานหนึ่งให้หมุนเรียกหมายเลขประจำเครื่องโทรพิมพ์ ของสำนักงานที่จะรับข้อมูลนั้นเเละทำการรับส่งข้อมุลได้ตามปกติ โดยเมื่อเสร็จสิ้นการติดต่อเเล้วจะมีการส่งสัญญาณยกเลิกการติดต่อ จากนั้นเครื่องชุมสายโทรพิมพ์จะปลดสายสัญญาณออกอัตโนมัติเช่นเดียวกับการวางสายโทรศัพท์เป็นการยกเลิกการติดต่อสือสาร
⇛ความสัมพันธ์ระหว่างโทรเลขกับโทรพิมพ์ ตัวอักษรที่รับได้ด้วยเครื่องโทรพิมพ์ อาจปรากฎเป็นตัวอักษร ตัวเลข เเละเครื่องหมายวรรคตอนบางอย่าง พิมพ์ลงบนเเถบกระดาษยาวๆ (เรียกว่า tape printer) เเล้วพนักงานโทรเลขก็ดึงเเถบกระดาษนั้นออกมา ทากาวด้านหลัง ปิดลงบนกระดาษแบบฟอร์มรับโทรเลข ใส่ซองผนึก เเล้วจึงนำไปจ่ายผ฿้รับตามจำนวนหน้าโทรเลข ปัจจุบันนิยมใช้วิธีพิมพ์ตัวอักษรข้อความลงบนกระดาษม้วน มีหน้ากว้างเท่ากระดาษพิมพ์ดีดธรรมดา เมื่อหมดข้อความโทรเลขฉบับหนึ่งๆเเล้วฉีกออกมา พับใส่ซองผนึก เเล้วนำไปจ่ายผู้รับ วิธีหลังนี้เรียกว่า page printer สามารถพิมพ์ทำสำเนาในขณะรับได้ ด้ยการใช้กระดาษคาร์บอนเเทรกม้วนกระดาษรับโทรเลข 2 ชั้น ที่ซ้อนกัน
⇛โทรพิมพ์ หมายถึง รูปแบบของการบริการโทรเลขชนิดหนึ่ง เเต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อโต้ตตอบกันโดยเครื่องพิมพ์จะมีลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีด ที่เป็นได้ทั้งเครื่องรับเเละส่งข้อมูลในตัวเดียวกัน สามารถสื่อสารโดยอาศัยตัวนำหรือช่องสัญญาณ เเละชุมสายที่มีการเชื่อมต่อกันกับเครื่องโทรพิมพ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ผู้ใช้ทั้งสองฝั่งสามารถติดต่อสื่อสารกันไได้ด้วยการพิมพ์ข้อความลงบนกระดาษเพื่อโต้ตอบกัน โดยถึงเเม้ว่าฝั่งรัจะไม่มีพนักงงานคอยรับข้อความ เครื่องก็ยังสามารถพิมพ์เเละหยุดได้เองโดยอัตโนมัติ (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2552 : 18)
⇛ประเภทของโทรพิมพ์
1.โทรพิมพ์เเบบใช้บุคคล คือ การทำงานของโทรพิมพ์ที่ใช้บุคคลในการเชื่อมต่อสัญญาณสำหรับการรับ -ส่งข้อมูล คือเมื่อสำนักงานหนึ่งต้องการติดต่อหรือรับข้อมูลข่าวสารกับอีกสำนักงานหนึ่งต้องเเจ้งให้พนักงานประจำชุมสายโทรพิมพ์ทราบ จากนั้นพนักงานประจำชุมสายโทรพิมพ์ จะดำเนินการเชื่อมสายสัญญาณให้สองสำนักงานสามารถติดต่อกันได้เเละเมื่อเสร็จสิ้นการติดต่อกันเเล้วต้องเเจ้งให้พนักงานประจำประชุมสายโทรพิมพ์ทราบอีกครั้งเพื่อทำการปลดสายสัญญาณเป็นการยกเลิกการติดต่อสื่อสาร
2.โทรพิมพ์เเบบอัตโนมัติ
การทำงานของเครื่องโทรพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้บุคคล ในการเชื่อมต่อสัญญาณในการรับ-ส่งข้อมูลโดยกำหนดให้เครื่องพิมพ์เเต่ละเครื่อง มีหมายเลขประจำเครื่องเช่นเดียวกับหมายเลขโทรศัพท์ คือเมื่อสำนักงานหนึ่งต้องการจะติดต่อหรือส่งข้อมูลข่าวสาร ไปยังอีกสำนักงานหนึ่งให้หมุนเรียกหมายเลขประจำเครื่องโทรพิมพ์ ของสำนักงานที่จะรับข้อมูลนั้นเเละทำการรับส่งข้อมุลได้ตามปกติ โดยเมื่อเสร็จสิ้นการติดต่อเเล้วจะมีการส่งสัญญาณยกเลิกการติดต่อ จากนั้นเครื่องชุมสายโทรพิมพ์จะปลดสายสัญญาณออกอัตโนมัติเช่นเดียวกับการวางสายโทรศัพท์เป็นการยกเลิกการติดต่อสือสาร
⇛ความสัมพันธ์ระหว่างโทรเลขกับโทรพิมพ์ ตัวอักษรที่รับได้ด้วยเครื่องโทรพิมพ์ อาจปรากฎเป็นตัวอักษร ตัวเลข เเละเครื่องหมายวรรคตอนบางอย่าง พิมพ์ลงบนเเถบกระดาษยาวๆ (เรียกว่า tape printer) เเล้วพนักงานโทรเลขก็ดึงเเถบกระดาษนั้นออกมา ทากาวด้านหลัง ปิดลงบนกระดาษแบบฟอร์มรับโทรเลข ใส่ซองผนึก เเล้วจึงนำไปจ่ายผ฿้รับตามจำนวนหน้าโทรเลข ปัจจุบันนิยมใช้วิธีพิมพ์ตัวอักษรข้อความลงบนกระดาษม้วน มีหน้ากว้างเท่ากระดาษพิมพ์ดีดธรรมดา เมื่อหมดข้อความโทรเลขฉบับหนึ่งๆเเล้วฉีกออกมา พับใส่ซองผนึก เเล้วนำไปจ่ายผู้รับ วิธีหลังนี้เรียกว่า page printer สามารถพิมพ์ทำสำเนาในขณะรับได้ ด้ยการใช้กระดาษคาร์บอนเเทรกม้วนกระดาษรับโทรเลข 2 ชั้น ที่ซ้อนกัน
อ้างอิง
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2552). เครือข่ายคอมพิวเตอร์เเละการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. สมพล จันทร์ประเสริฐ. (2560). โทรพิมพ์. (ออนไลน์). เเหล่งที่มา : http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Thai_Teleg.
เสงี่ยม เผาทองศุข. (2560). เครื่องโทรพิมพ์. (ออนไลน์). เเหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/knowledgec.
เสงี่ยม เผาทองศุข. (2560). เครื่องโทรพิมพ์. (ออนไลน์). เเหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/knowledgec.
ได้ความรู้มากเลย
ตอบลบขอบคุณนะคร้า ได้ความรู้มากเลย
ตอบลบขอบคุณครับ! กำลังค้นหาเรื่องนี้พอดีเลย :)
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณค่ะได้ความรู้มากเลย จัดบรรทัดดีมากแต่มีบางคำตกหล่นนะค่ะ
ตอบลบขอบคุณนะคะ กำลังหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เลยย
ตอบลบ